ตอนนี้ใครๆต่างก็รู้จักกับเจ้าพ่อแห่งวงการสุดยอดมือถือ สตีฟ จ็อบส์ เจ้าของแบรนด์ยอดนิยมอย่าง ไอโฟน ผู้อำลาล่วงลับจากโลกไปแล้ว แต่ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ของเขากลับไม่ล่วงลับตามไปด้วย แถมยังได้รับความนิยมอย่างสูงสุดอีกด้วย ถือได้ว่า สตีฟ จ็อบส์ นี้คือ เจ้าพ่อแห่งวงการมือถือแบบทันสมัยและดีที่สุดแห่งยุคจริงๆ
แล้วอย่างนี้ สตีฟ จ็อบส์ เขาทำอย่างไรถึงประสบความสำเร็จในวงการมือถือนี้ได้ล่ะ?เขาทำอย่างไรนะ ถึงทำให้แบรนด์ของเขาได้รับการยอมรับอย่างสุดสุดและท่าทางจะตกความนิยมยากเสียด้วย ทั้งนี้ถ้าคุณได้ลอกเลียนแบบการเก็บเงินของเขาแล้วละก็ เชื่อว่าหนทางที่นำไปสู่การบริหารการเงิน เพื่อรองรับในสิ่งที่ตัวเองจะลงแรงทำด้วยเม็ดเงินแล้วละ ก็ ขอแนะนำว่าอย่างพลาดวิธีการเด็ดขาด เพราะวิธีการบริหารเงินของ สตีฟ จ็อบส์ นั้น เป็นที่น่าสนใจ และเชื่อว่าถ้าทำตามได้คุณอาจจะได้เป็น สตีฟ จ็อบส์ นัมเบอร์ทู ที่สุดยอดประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด และเป็นผู้นำแห่งยุคได้เลยทีเดียวล่ะ
วิธีการสร้างความมั่นคงทางการเงิน ตามแบบ สตีฟ จ็อบส์
1.เอาเงินซื้อประสบการณ์
สตีฟ จ็อบส์ นั้นมีความฉลาดในการทุ่มเทอย่างมาก คุณจะพบว่าเขายอมทุ่มเทเงินทอง เพื่อลงทุนสร้างเสมือนสร้างประสบการณ์ ทั้งนี้แม้ว่าเขาจะไม่สามารถจะขายผลงานที่เขาทุ่มทุนไปอย่างมากมาย ซึ่งแน่นอนว่าคนส่วนใหญ่นั้นไม่กล้าที่จะทำแบบนี้เพื่อให้เงินของเขาเสียเปล่าแน่ๆ แต่ทว่าในทางกลับกัน เหมือนเป็นการที่เขาเสียเงินเพื่อเรียนรู้สิ่งที่ผิดพลาดพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จนั่นเอง และจากการทุ่มเงินไปอย่างสูญเปล่าในครั้งนั้นเขาก็สามารถประสบความสำเร็จได้ในเวลาต่อมา
2.ไม่มีวันที่จะไปยืมเงินคนอื่นมา
สตีฟ จ็อบส์ มีข้อคิดดีๆและน่าสนใจมากในข้อนี้ โดยเขาได้พูดไว้ว่า การยืมเงินใครสักคนไม่ว่าจะกับเพื่อนหรือคนรู้จักนั้น มันจะส่งผลต่อชีวิตคุณภายหลัง กล่าวคือ เสมือนว่าจะดึงให้ชีวิตการเงินของคุณนั้นตกต่ำลงไปจากเดิม และเหมือนกับ่วาเอาเงินแห่งอนาคตที่คุณควรจะมีนั้นไปใช้ก่อนเสียแล้ว แต่ทว่าถ้าหากคุณมีความจำเป็นที่จะต้องยืมเงินจริงๆแล้วละก็ ก็ต้องยืมในปริมาณที่สามารถนำมาคืนได้ด้วยนะ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหากับคนที่คุณยืมเงินมาภายหลัง เนื่องจากไม่มีเงินคืนนั่นเอง
3.เรียนรู้จากบุคคลอื่น
คุณลองมองบุคคลอื่น สักคนหนึ่ง เพื่อทำการเรียนรู้และเอามาเป็นประสบการณ์ของตัวเองสิ ยิ่งกับคนที่ประสบความสำเร็จในด้านการบริหารเงินและธุรกิจดังๆแล้วนั้น ควรจะจับตามองพฤติกรรมเขาเอาไว้อย่าได้วางตาเชียวล่ะ เพราะนั่นคือครูที่มีชีวิต อีกทั้งไม่ต้องไปเสียเงินเรียนเพิ่มเติมจากไหนด้วยนะ อีกอย่างควรเลือกมองจากคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะเขาะเป็นแบบอย่างให้กับคุณได้นั่นเอง
4.มองจุดที่ควรจะมอง หรือ สังเกตเรื่องสำคัญก่อนเสมอสิ
การสนใจในจุดที่สำคัญนั้น จะช่วยดึงให้คุณประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วขึ้น เช่น หากคุณตั้งเป้าหมายในเรื่อง การประหยัดเงิน หรือ การ ออมเงิน ก็ควรจะเคร่งครัดกับตัวเอง มีวินัยกับตัวเองให้สูงมากๆ โดยให้ความสนใจกับสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนแล้วจึงค่อยเรียงลำดับความสำคัญลงเรื่อยๆ
5.ให้ความสำคัญของการ ออมเงิน มากที่สุด
การ ออมเงิน นั้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถพลักดันเราไ/ปสู่เส้นทางความสำเร็จได้ ทั้งนี้หากคุณต้องจ่ายหนี้สินไปพร้อมการออมนั้นเป็นการยากสักหน่อย แต่ก็ควรจะออมไว้ ถึงแม้จะออมได้วันละนิดวันละหน่อยแต่ก็ดีกว่าไม่ได้ ออมเงิน เลยนะคะ โดยอาจจะออมใส่กระปุกออมสินไว้วันละ 5 บาท 10 บาทก็ได้
6.การขวยขวายนั้นคือเส้นทางแห่งผู้บริหารสูงสุด
สตีฟ จ็อบส์ นั้น เขาสามารถสำเร็จได้ เนื่องมาจากเขามีความสามารถจากการที่เขาได้ขวนขวายเสาะหาค้นคว้าศึกษาสิ่งใหม่อยู่เสมอ แสดงให้เห็นเด่นชัดว่า การศึกษาค้นคว้านั้นนำทางสู่ความสำเร็จอีกทางหนึ่งสำหรับ สตีฟ จ็อบส์ จริงๆ ดังนั้นหากคุณอยากประสบความสำเร็จก็อย่าหยุดที่จะขวยขวายค้นคว้านะคะ
7.ทฤษฎี น้อยคือมาก
คุณอาจจะงงว่ามันหมายความว่าอย่างไร ยกตัวอย่างสั้นๆง่าย นั่นคือ หากคุณมีบัญชีในมืออยู่หลายบัญชี มันจะไม่ง่ายกว่าเหรอ ที่คุณจะรวมเงินทุกบัญชีเข้ามาอยู่ในบัญชีเพียงบัญชีเดียวกัน ซึ่งเมื่อเอาเงินมารวมกันแล้ว ก็จะพบว่าเงินในมือที่มีอยู่นั้นช่างมากมายเสียจริง เพราะฉะนั้นใครที่มีหลายๆ บัญชีก็ลองนำเงินทุกบัญชีมารวมกันนะคะ หรือจะแบ่งเป็นหลายบัญชีแบบนั้นก็ได้ แต่ควรแยกว่าบัญชีไหนใช้จ่าย บัญชีไหนเก็บออม เป็นต้น
8.ยอมรับในสิ่งที่ผิดพลาด
วิธีการเก็บเงินของ สตีฟ จ็อบส์ คือเขานำประสบการณ์ที่เคยผิดพลาดมาแล้วนั้นมาใช้ในการเก็บ ออมเงิน
9.เชื่อมั่นในการตัดสินใจของตัวเอง
การตัดสินใจด้วยตนเองนั้น เมื่อเราได้ทำการตัดสินใจไปแล้ว จงเชื่อมั่นกับมัน ยิ่งถ้าหากเกี่ยวกับเรื่องเงินแล้ว คุณห้ามทำตัวลังเลอย่างเด็ดขาด
เป็นไงกันบ้างสำหรับการเก็บเงิน แบบฉบับ สตีฟ จ็อบส์ ถ้าหากบางอย่างคุณสามารถนำเอาไปปรับใช้ได้ เชื่อได้ว่าคุณก็อาจจะประสบความสำเร็จด้านการเงินแบบเขาก็ได้นะ
สนับสนุนข้อความ : MoneyHub
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น